ลอยกระทง ประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ แต่กระทงน้ำแข็งละ
ด้วยความเชื่อที่ว่าเป็นการไหว้ขอคมาพระแม่คงคา
วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติบางปีเทศกาลลอยกระทงก็จะมาตรงกับเดือนตุลาคมด้วย เช่นปีพ.ศ. 2544วันลอยกระทงปีนั้นตรงกับวันที่31 ตุลาคมและจะมาตรงกันอีกครั้งในปีพ.ศ. 2563 ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป นอกจากนี้บางประเทศก็มีเทศกาลลอยกระทงด้วย เช่น ประเทศลาวมักจะลอยกระทงในวันออกพรรษา(ขึ้น15ค่ำ เดือน11)ในงานไหลเฮือไฟของลาว ประเทศกัมพูชา มีการลอยกระทง 2 ครั้ง คือลอยกระทงของหลวงกลางเดือน 11 ส่วนราษฎรทำกระทงเล็กและบรรจุอาหารไปด้วย ส่วนกลางเดือน 12 จะมีกระทงของหลวงเป็นกระทงใหญ่ ราษฎรจะไม่ได้ทำและกระทงนี้จะมีอาหารบรรจุลงไปด้วย โดยมีคติว่าเพื่อส่งส่วนบุญไปให้เปรต เทศกาลน้ำจะมีการเฉลิมฉลองด้วยการแข่งเรือยาว การแสดงพุลดอกไม้ไฟ จัดขึ้นทุกปีตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ จนถึงแรม 1 ค่ำ เดือนพฤศจิกายน ประเทศเมียนมาร์ ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" ตกแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคา ที่มา wikipedia.com
ตัวผมเองก็ลอยกระทงมาตลอดไม่ทุกปีตั้งแต่จำความได้
ทำเองบ้าง ซื้อเขาบ้าง แล้วแต่ความสะดวกในช่วงเวลานั้น
ซึ่งสมัยก่อนเรามักจะใช้กระทงที่ทำจากหยวกกล้วยและใบตอง และต่อมาก็เป็นโฟม
แต่ !!! กระทงหยวกกล้วย กับ กระทงโฟมกลับทำให้น้ำเน่ามากกว่าเดิมไปซะงั้น
ในเวลาต่อมาก็การประดิษณ์กระทงที่ทำจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่ายขึ้น เช่น ขนมปัง ซึ่งหวังว่าจะเป็นการให้อาหารปลาไปด้วย แต่ด้วยปริมาณที่มากเกินกว่าปลาจะจัดการได้หมด สรุปน้ำเน่าอยู่ดี