ลอยกระทง ประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ แต่กระทงน้ำแข็งละ
ด้วยความเชื่อที่ว่าเป็นการไหว้ขอคมาพระแม่คงคา
วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติบางปีเทศกาลลอยกระทงก็จะมาตรงกับเดือนตุลาคมด้วย เช่นปีพ.ศ. 2544วันลอยกระทงปีนั้นตรงกับวันที่31 ตุลาคมและจะมาตรงกันอีกครั้งในปีพ.ศ. 2563 ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป นอกจากนี้บางประเทศก็มีเทศกาลลอยกระทงด้วย เช่น ประเทศลาวมักจะลอยกระทงในวันออกพรรษา(ขึ้น15ค่ำ เดือน11)ในงานไหลเฮือไฟของลาว ประเทศกัมพูชา มีการลอยกระทง 2 ครั้ง คือลอยกระทงของหลวงกลางเดือน 11 ส่วนราษฎรทำกระทงเล็กและบรรจุอาหารไปด้วย ส่วนกลางเดือน 12 จะมีกระทงของหลวงเป็นกระทงใหญ่ ราษฎรจะไม่ได้ทำและกระทงนี้จะมีอาหารบรรจุลงไปด้วย โดยมีคติว่าเพื่อส่งส่วนบุญไปให้เปรต เทศกาลน้ำจะมีการเฉลิมฉลองด้วยการแข่งเรือยาว การแสดงพุลดอกไม้ไฟ จัดขึ้นทุกปีตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ จนถึงแรม 1 ค่ำ เดือนพฤศจิกายน ประเทศเมียนมาร์ ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" ตกแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคา ที่มา wikipedia.com
ตัวผมเองก็ลอยกระทงมาตลอดไม่ทุกปีตั้งแต่จำความได้
ทำเองบ้าง ซื้อเขาบ้าง แล้วแต่ความสะดวกในช่วงเวลานั้น
ซึ่งสมัยก่อนเรามักจะใช้กระทงที่ทำจากหยวกกล้วยและใบตอง และต่อมาก็เป็นโฟม
แต่ !!! กระทงหยวกกล้วย กับ กระทงโฟมกลับทำให้น้ำเน่ามากกว่าเดิมไปซะงั้น
ในเวลาต่อมาก็การประดิษณ์กระทงที่ทำจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่ายขึ้น เช่น ขนมปัง ซึ่งหวังว่าจะเป็นการให้อาหารปลาไปด้วย แต่ด้วยปริมาณที่มากเกินกว่าปลาจะจัดการได้หมด สรุปน้ำเน่าอยู่ดี
ลอยกระทงปีนี้ผมก็คิดอยู่ว่าจะลอยกระทงยังไงดี ที่จะทำให้น้ำเน่าน้อยที่สุด คิดยังไงก็คิดไม่ตก อยู่ดีๆ คุณแฟนก็บอกว่ามีคนทำกระทงน้ำแข็งใน Facebook แต่จำไม่ได้แล้วว่าใครโพสต์
เฮ้ย น้ำแข็ง จริงๆ ด้วยน้ำแข็งละลายหมดก็ไม่เหลืออะไรเลยนี่หว่า เด็ด เอาอันนี้แหละ
ไม่รอช้าครับ ชวนคุณแม่ทำเลย โดยเตรียมภาชนะที่จะใช้ก่อนเลยครับ สำหรับภาชนะก็เป็นอะไรก็ได้ครับ ขอให้แข็งแรงหน่อย และละลายน้ำแข็งออกมาได้ง่ายๆ โดยภาชนะที่ผมเลือกใช้คือ หม้อครับ เพราะเป็นโลหะแข็งแรง และผิวข้างในค่อนข้างเรียบ ลื่น ทำให้ง่ายต่อการแกะออกมาครับ
แต่จะใส่น้ำลอยเฉยๆ ก็จะกระไรอยู่ ขาดความสวยงามไปหน่อย ไม่ยากครับอันนี้แถวบ้านปลูกต้นไม้อยู่แล้ว เด็ดโลดจ้า
ผ่าง ออกมาเป็นแบบนี้ 55+
ทำ 2 กระทงครับ ของผมกับ ของคุณแม่ ของคุณแม่เด็ดตรงมีดอกไม้ดอกใหญ่อยู่ตรงกลาง สวยฝุดๆ
หลังจากนั้นก็เข้าสู่ขั้นตอน "แช่ช่องแข็งครับ" หลังจากแช่ไปแล้ว สัก 2 - 3 ชั่วโมงให้มาเปิดดูนะครับ ถ้าผิวหน้าเริ่มแข็งแล้ว ให้เอาเทียนปักไปตอนนี้เลยครับ เทียนจะได้ฝังอยู่ในกระทงเลย ซึ่งผมเอาเหรียญใส่ลงไปด้วย เหรียญก็จะฝังอยู่ในน้ำแข็งดังภาพเลยครับ
มาถึงเวลาเย็น ตอนที่จะไปลอยระทง ก็ถือไปทั้งหม้อแบบนี้เลยครับ 55+ คนข้างๆ คงงง มรึงจะเอาหม้อมาลอยอะไร
เดินมาถึงท่าน้ำ ตัวกระทงกำลังละลาย กำลังดีเลยครับ แค่คว่ำก็หลุดออกมาอย่างง่ายด่าย ฮี่ๆ
หน้าตาของกระทงครับ ไม่ได้สวยมาก ไม่ได้หรูหรา อะไร แต่ภูมิใจครับ อิอิ
และแล้วก็มาถึงจุดสำคัญ กระทงน้ำแข็งจะลอยได้ไหม คำตอบตามรูปเลยครับ
(รูปอาจจะไม่ค่อยชัดนะครับ คนเยอะไม่สามารถไปถ่ายใกล้ๆ ได้)
มันลอยได้ครับ ไม่มีปัญหา แต่จะลอยในระดับเสมอน้ำนะครับ เป็นธรรมชาติของน้ำแข็ง ส่วนเทียนกับ ธูปก็จุดได้ปกตินะครับ ไม่ต้องกลัวว่าชื้นแล้วจะจุดไม่ติด (แต่วันนั้นลมแรงครับลงไปแปปเดียวเทียนก็ดับ)
ส่วนอันนี้ของคุณแม่ครับ ลงผิดท่าไปหน่อย คว่ำ T-T
สรุป
กระทงน้ำแข็งสามารถลอยได้ครับ แต่เหมาะสำหรับคนที่บ้านอยู่ไม่ห่างจากท่าน้ำมากนะครับ ใครอยู่ไกลมากอาจต้องใช้กล่องโฟมช่วย (บ้านผมห่างจากท่าน้ำ ~600 เมตร)
ตอนถือไปลอยอาจจะมีคนมองเยอะหน่อย แต่อย่าไปแคร์นะครับ ด้านเข้าไว้ 55+
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น