วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ระบายอากาศในบ้านให้เย็นด้วย ระบบระบายอากาศในบ้าน ( Home Ventilation System )

ระบบระบายอากาศในบ้าน ( Home Ventilation System )

เนื่องจากได้มีโอกาสไปเดินดูบ้าน Heim ของ SCG ที่ CDC มาก็ชอบนวัตกรรมต่างๆ มาก โดยเฉพาะระบบบ้านไร้ฝุ่น และระบายอากาศ Active Air Flow

ซึ่งต้องบอกตรงๆ ว่างบประมาณไม่ถึงบ้าน Heim แต่ SCG ก็ยังมี Solution Active Air Flow มาขาย สำหรับบ้านที่สร้างเอง ซึ่งผมเองก็เข้าไปลองคุยกับเจ้าหน้าที่ดู ทั้งที่ SCG Home Solution หรือตามบูธที่งาน สถาปนิก , บ้านและสวน จากพื้นที่บ้านผม ประมาณราคาแล้วสูงถึง 150,000+ เลยทีเดียว

แต่ทีสำคัญคือ คุยไปคุยมาตัวจึงรู้ว่า Active Air Flow ในบ้าน Heim กับ Solution ที่ทำออกมาขายบ้านทั่วไปก็เป็นคนละตัวกัน อ้าวงงเลย ถึงตรงนี้ผมต้องรีบทำการบ้านเลย ว่ามันต่างกันตรงไหน และไอ้ระบบระบายอากาศในบ้าน (Home Ventilation System) เนี่ยมีกี่แบบกันแน่ ?



ประเภทของระบบรายอากาศ

1. Exhaust
เป็นระบบที่ให้เข้าใจง่ายก็คือ ท่อไอเสีย เป็นระบบที่มีหลักการทำงาน คือ เป่าอากาศ ภายในบ้านออกไปหรือ ดูดออกไปข้างออกนั้นเอง สำหรับในไทยก็มีให้เลือกใช้หลายยี่ห้อเลย เช่น Mitsubishi, Hatari, Panasonic
  • ข้อดี
    • ราคาถูก
    • ติดตั้งง่าย
    • ใช้ดีกับพื้นที่ที่อากาศเย็น เช่น เมืองไทย ?
  • ข้อเสีย
    • อาจจะดูดเอามลพิษหรือ ฝุ่นผงเข้ามาในบ้านได้
    • ไม่เหมาะกับเมืองร้อน
    • อาจมีอากาศรั่วไหลได้
    • เป็นการเพิ่มภาระให้กับเครื่องปรับอากาศ


2. Supply
เป็นระบบที่ตรงกันข้ามกับ Exhaust นั้นคือ ใช้การดูดอากาศเข้ามาในตัวบ้าน และใช้แรงดันลมที่ดูดเข้ามาดันอากาศเก่าในบ้านออก สำหรับในประเทศไทยก็มียี่ห้อ FreshO
  • ข้อดี
    • ราคาถูก
    • ติดตั้งง่าย
    • มีฝุ่นจากภายนอกเข้ามาน้อย (ระบบดูดอากาศแบบนี้มักมีตัวกรองฝุ่นในตัว)
    • สามารถเพิ่มความชื้นให้อากาศในบ้านได้ (แต่เมืองไทยเป็นเมืองร้อนชื้นอยู่แล้ว)
    • ใช้ได้ดีในสภาพอากาศร้อน
  • ข้อเสีย
    • ถ้าบ้านมีความชื้นสูงอยู่แล้ว อาจจะทำให้ความชื้นสูงเกินไป
    • ไม่สามารถลดอุณหภูมิของอากาศ และ ความชื้นที่ดูดเข้ามาได้
    • เป็นการเพิ่มภาระให้กับเครื่องปรับอากาศ


3. Balanced
เป็นการนำเอาระบบระบายอากาศทั้ง Exhaust และ Supply เข้ามาใช้ในบ้านนั้นเอง ซึ่งระบบนี้ไม่แนะนำเท่าไหร่ครับ เพราะราคาแพง และเหมือนเอาข้อเสียของ Exhaust และ Supply มารวมไว้ในบ้านเลย
  • ข้อดี
    • ใช้ได้ทุกสภาพอากาศ
    • รวมข้อดีของ Exhaust และ Supply ไว้ด้วยกัน
  • ข้อเสีย
    • ค่าใช้จ่ายสูง และติดตั้งยาก ต้องมีการวางระบบที่ถูกต้อง
    • รวมข้อเสียของ Exhaust และ Supply ไว้ด้วยกัน

4. Energy Recovery & Heat Recovery Ventilators (ERV / HRV)
นี่คือพระเอกของเราเลย ถ้าการสูญเสีย ความร้อน/ความเย็น มันเป็นปัญหานัก ก็แลกเปลี่ยน ความร้อน/ความเย็น มันซะเลย

โดยหลักการทำงานของ ERV / HRV คือ ตัวเครื่องจะมีพัดลมอยู่ 2 ตัว ตัวนึงทำหน้าที่ดูดเข้า และอีกตัวทำหน้าที่เป่าออก ดูๆ แล้วๆ คล้ายๆ กับแบบ Balanced แต่ๆๆๆ ตรงกลางของเครื่อง ERV / HRV จะมีแผงสี่เหลี่ยมสำหรับผสมอากาศจากภายในและภายนอกเข้าด้วยกันทำให้ความเย็นจากภายในบ้านไม่ไหลออกไปข้างนอกบ้าน และ ความร้อนจากภายนอกบ้านก็ไม่เข้ามาในบ้าน เช่นกัน

นอกจากนั้น ERV / HRV ยังติดตั้งระบบดักจับฝุ่นไว้อีกด้วย ซึ่งระบบนี้ในบ้านเราที่จะมีติดตั้งกันก็คือ Air Factory System ในบ้าน SCG HEIM นั้นเอง โดย HEIM จะใช้เครื่อง ERV ของ Mitsubishi Lossnay ซึ่งราคาแรงเอาเรื่องอยู่ นอกจาก Mitsubishi ก็จะมีของยี่ห้อ Daikin , Blauberg จากประเทศเยอรมัน 

  • ข้อดี
    • ช่วยลดค่าไฟ ของเครื่องทำความเย็นได้
    • ราคาแพงกว่า Exhaust และ Supply แต่ถูกกว่า Balanced
    • ตัวบ้านจะไม่มีรูบนผนัง เพราะไม่ต้องเจาะกำแพงเยอะ มีเพียงท่อลม เข้า/ออก อย่างละจุด
    • ส่วนใหญ่จะมี filter กรองฝุ่น
  • ข้อเสีย
    • ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่าระบบอื่น
    • หาผู้รับเหมาที่ติดตั้งเป็นยาก
    • ต้องมีการบำรุงรักษาบ่อยกว่าระบบอื่น
    • การจะใช้งานระบบนี้ให้มีประสิทธิภาพต้องมีการซีลประตูหน้าต่างให้ดี




สุดท้ายแล้วระบบที่ตอบโจทย์ผมมากที่สุดคือ  Energy Recovery & Heat Recovery Ventilators (ERV / HRV) เพราะไม่ต้องเจาะกำแพงให้บ้านเป็นรู แถมยังป้องกันเสียง และ ฝุ่นจากภายนอกได้ดีอีกด้วย

แม้การติดตั้งจะดูวุ่นวาย นิดหน่อยแต่ในระยะยาวถือว่าคุ้มค่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น