วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โปรเจคบ้านเลขที่ 45 : ตอนที่ 10 ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา STAY COOL หรือ PU Foam ดี ?

หลังจากเราเลือกกระเบื้องหลังคาได้แล้ว จากกระทู้นี้
ตอนที่ 8 กระเบื้องหลังคา Prestige vs Neustile vs Excella
จากกระทู้นั้นเราได้ชื่อ ผู้ชนะคือ กระเบื้อง Neustile X-Shield HeatBLOCK นั้นเองๆๆๆ

ซึ่งจะเห็นได้ว่าผมได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการป้องกันความร้อนเป็นอย่างมาก
เพราะหลังคาคือ "ส่วนที่รับความร้อนมากที่สุด" และหากความร้อนทะลุจากหลังคาลงมาถึงภายในบ้านแล้ว รับรองได้เลยว่า "บ้านร้อน" แน่นอนครับ

กระเบื้องหลังคาทำหน้าที่สะท้อนความร้อนออกไปบ้างส่วน แต่ส่วนที่ทะลุผ่านเข้ามาได้ละจะทำยังไง ?

วันนี้เรามาดูถึงวิธีการป้องกันความร้อนเข้ามาภายในบ้านกันเถอะ


เรามาดูระบบป้องกันความร้อนของ และโครงสร้างหลังคา SCG กันก่อน



ด่านแรก "แผ่นสะท้อนความร้อน"

หลังจากความร้อนผ่านกระเบื้องเข้ามาได้ ก่อนจะถึงห้องให้หลังคา เราสามารถติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนเพิ่มเติมได้ สำหรับหลังคา TOP HAT ของ SCG จะมี ULTRA COOL รวมอยู่ในชุดอยู่แล้ว

โดยหน้าตาของแผ่นสะท้อนความร้อนจะเป็นแบบนี้ครับ



* ต้องเลือกให้ถูกรุ่นนะครับ เช่น หากใช้กระเบื้องนิวสไตล์ก็ต้องใช้ ULTRA COOL สำหรับนิวสไตล์ด้วย




การใช้งานก็ง่ายๆ ครับ แค่ปูไว้เหนือแป ก่อนจะติดตั้งกระเบื้อง (พิมพ์เหมือนเป็นคนทำเองเลย 55+
สำหรับข้อมูลติดตั้งแบบละเอียด >> กดดูได้ที่นี้เลยครับ


ด่านที่สอง "ฉนวนกันความร้อน"

แน่นอนว่าเราไม่สามารถป้องกันความเอาไว้ได้หมดอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าจะใช้ ULTRA COOL แล้วก็ตาม

ความร้อนที่ทะลุเข้ามาจะสะสมอยู่ในห้องใต้หลังคา แล้วก็จะแพร่ลงมาที่ตัวบ้านอีกที ดังนั้นก่อนที่จะเป็นยังงั้นเราก็ต้องป้องกันไม่ให้ความร้อนแพร่ลงมาที่ตัวบ้านนะครับ (แต่ให้ความร้อนไหลออกไปทางช่อง
ระบายอากาศตรงฝ้าเชิงชายแทน

สำหรับด่านที่สองนั้น หากใช้วัสดุของ SCG ก็จะมี แผ่นฟอยล์หุ้มใยแก้ว ที่เรียกว่า STAY COOL
(ไม่รวมอยู่ใน TOP HAT ต้องติดตั้งเพิ่มเอง)


STAY COOL หน้าตาเป็นแบบนี้ครับ มี 2 ขนาด ต่างกันที่ความหนา 3 นิ้ว และ 6 นิ้ว
และแน่นอนแบบ 6 นิ้วสามารถป้องกันความร้อนได้ดีกว่า


ส่วนประกอบหลักของ STAY COOL ก็คือ แผ่นฟอยล์ที่หุ้มใยแก้ว  โดยเจ้าใยแก้วนี่เป็นตัวทำหน้าหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนไม่ให้ลงไปสู่ตัวบ้าน โดยทาง SCG เคลมว่าเจ้าในแก้วนี้ปลอดภัยเพราะขนาดโมเลกุลมีขนาดเล็ก ร่างกายสามารถขับออกได้เองตามธรรมชาติ ไม่เหมือนแร่ใยหินที่ร่างกายไม่สามารถขับออกมาเองได้ เป็นอันตรายทำให้เป็นมะเร็งได้ แต่ยังไงก็ดีการสัมผัสใยหินตรงๆ อาจจะทำให้แสบๆ คันๆ ได้ ดังนั้นตอนติดตั้งต้องป้องและระวังไม่ให้ฟอยล์ฉีกขาด

ซึ่งหากฟอยล์ฉีกขาดก็สามารถเอาเทปฟอยล์กาวติดลอยฉีกขาดได้เลย



ราคาของ STAY COOL (ม้วนนึงมีขนาด 0.6 x 4 m)
ขนาด 75 mm(3 นิ้ว) ราคาประมาณ 330 ต่อม้วน ~165 บาท / ตรม.
ขนาด 150 mm(4 นิ้ว) ราคาประมาณ 440 ต่อม้วน
~220 บาท / ตรม.

STAY COOL ความหนา 3 VS 6 นิ้ว
ทุกท่านคงจะรู้อยู่แล้วว่าเมืองไทยร้อนขึ้นทุกวัน กับราคาที่ไม่ต่างกันมากอย่างมีนัยยะสำคัญ
งานนี้เลือกความหนา 6 นิ้วเถอะครับ สร้างบ้านทั้งที่ติดที่เดียวเอาให้จบ


ข้อดีของ STAY COOL
- กันความร้อนไม่ให้ลงสู่ตัวบ้านได้
- ติดตั้งง่าย สามารถติดตั้งได้เอง
- ไม่ติดไฟ
- ป้องกันเสียงจากนอกตัวบ้านได้
- หาซื้อง่ายตามร้านขายวัสดุก่อสร้างทั่วไป
- มี SCG รับประกัน
ข้อเสียของ STAY COOL
- เพราะเป็นใยแก้ว ถ้าเกิดรอยรั่วอาจจะทำให้ระคายเคืองผิวหนัง หรือ ระบบหายใจได้

- อายุการใช้งาน 10 ปี ใยแก้วสามารถแฟบลงได้ ทำให้คุณสมบัติการกันความร้อนลดลง
- มีโอกาสฉีดขาดได้จากการติดตั้ง
- ติดตั้งหลอดไฟ หรือ เดินสายไฟยากจึ้น เนื่องจากต้องวางบนฝ้า เวลาติดตั้งหลอดดาวไลน์อาจจะต้องตัด หรือ เจาะ STAY COOL เพื่อหลบหลอดไฟ


แล้วมีอะไรดีกว่า STAY COOL ไหม คำตอบ คือ มี !!!



นอกจาก STAY COOL แล้ว ยังมีอีกวิธีนึงที่ผมไม่เคยไม่ได้ยินมาก่อนเลยเหมือนกัน แต่พี่วิศวกรควบคุมการก่อสร้าง เอ่ยขึ้นมาว่า "ลองพ่นโฟมใต้หนังคาดูไหม" ผมก็เลยไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมดู ได้ใจความว่ามันคือ การพ่นโฟม P.U. หรือชื่อเต็มๆ คือ คือโพลียูรีเทนโฟม ( Polyurethane Foam )

การพ่นโฟม P.U. !!!Polyurethane Foam 

คือ สารเคมีชนิดนึง จะทำปฎิกิริยากับอากาศและจะพองตัวออกมา โดยตอนแรกก่อนที่จะพ่นนั้นจะมีลักษณะเป็นของเหลว แล้วใช้เครื่องพ่นฉีดออกมา โดยสามารถพ่นได้ตั้งแต่ความหนา 1-3 นิ้วเป็นต้นไป หลังจากพองตัวแล้วเพียงไม่กี่วินาทีก็จะแข็งเหมือนโฟมที่เราเห็นทั่วไป

ชื่อ PU Foam อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูคนทั่วไปเท่าไหร่ แต่ให้อธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ มันคือโฟมที่อยู่ในตู้เย็น หรือ ห้องเย็น นั้นแหละครับ เพราะคุณสมบัติในการป้องกัน และ กักเก็บอุณหภูมิของมันเทพมาก


ข้อดีของ P.U. Foam
- ป้องความร้อนได้ดีที่สุด ดีกว่า STAY COOL
- สามารถป้องกันความเย็นออกไปภายนอกบ้านได้
- เป็นโฟมพ่นใต้กระเบื้องหลังคา ดังนั้นบนฝ้าจะโล่ง สามารถติดตั้งโคมไฟ หรือ เดินสายไฟได้อย่างสะดวก
- สามารถอุดรอยรั่วซึมได้ดี
- น้ำหนักเบาและ แข็งแรง

ข้อเสียของ
P.U. Foam
- ราคาแพงกว่า STAY COOL ประมาณ 3 เท่า (เท่าที่สอบถามหลายร้านที่รับพ่นราคาจะอยู่ที่ 500 - 600 บาทต่อ ตรม.)
- ถ้าเกิดปัญหา รั่วซึมขึ้นมาจะหาจุดที่เกิดปัญหาลำบาก
- ต้องหาร้านที่รับพ่นเอง
- ไม่มีมาตรฐาน หากเลือกร้านรับพ่นไม่ดีอาจจะซวยได้

- ติดไฟ แต่ไม่ลามไฟ










เปรียบเทียบ STAY COOL vs
P.U. Foam
ในด้านการป้องกันความร้อนต้องยอมรับว่า
P.U. Foam  เหนือกว่า STAY COOL มาก ซึ่งตอนแรกผมก็จะเลือกใช้ PU FOAM แล้วถึงขั้นโทรไปสอบถาม ข้อมูลร้านที่รับพ่นไว้หลายร้านเลย และคุยกับผรม. ไปเรียบร้อยเลยว่าจะใช้ PU FOAM 

แต่มีจุดนึงที่ผมเป็นกังวลว่าหากเราพ่น PU FOAM แล้ว SCG ยังรับประกันหลังคา TOP HAT ให้เราอยู่ไหม ? และในที่สุดวันที่ทาง SCG ส่ง Sale มาดูหน้างานผมก็ไม่รอช้ารีบถามเลย และได้คำตอบว่า
...
..
.

ไม่รับประกันจ้า ประกันหมดทันที ซึ่งก็ตรงกับที่คิดไว้ ไม่มีอะไรให้แปลกใจ ซึ่งทาง SCG กับ ผรม. ผมมีความคิดเห็นตรกันเรื่อง จะมีปัญหาหากเกิดรอยรั่วบนหลังคา จะไม่สามารถไล่หาสาเหตุได้ง่ายๆ อาจจะถึงขั้นต้องรื้อหลังคา ซึ่งเกิดปัญหาขึ้นจริงๆ เรื่องใหญ่แน่นอน
จากข้อจำกัดนี้ หากใครรับความเสี่ยงได้อยากพ่น PU FOAM ก็ลองดูครับ แต่ผมไม่อยากเสี่ยงกับปัญหาในอนาคต สรุปบ้านหลังนี้เลือกใช้ STAY COOL เพื่อความสบายใจครับ
สร้างบ้านทั้งที่ต้องเอาที่อยู่สบาย ทั้งกาย และใจ

ขอขอบคุณรูปภาพ และข้อมมูล จาก SCG , Pantip.com ครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น