วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โปรเจคบ้านเลขที่ 45 : ตอนที่ 6 งานฐานราก การตอกเสาเข็ม เทคาน เทพื้น และตั้งเสาบ้าน (รูปเยอะ)


งานฐานราก การตอกเสาเข็ม เทคาน เทพื้น และเสาบ้าน


ความเดิมจากตอนที่แล้ว หลังจากการรื้อบ้านเก่าได้เสร็จสิ้นลงไปแล้ว ก็ได้เวลาเริ่มต้นกับสิ่งใหม่ๆ
แต่ทุกสิ่งที่ยิ่งใหญ่นั้นมักจะเริ่มจาก "การเริ่มต้นที่ดี" สำหรับการสร้างบ้านนั้นสิ่งสำคัญที่จะละเลยไม่ได้เลยคือ "งานฐานราก"

บ้านจะแข็งแรงทนทานอยู่ไปได้อีกเป็น 10 ปีหรือไม่ขึ้นอยู่กับจุดนี้เลย ถ้างานฐานรากไม่ดีแล้วละก็จบ บ้านที่ควรจะอยู่อย่างสบายใจจะกลายเป็นบ้านที่ต้องคอยแก้ไขทันที แถมบางอย่างถ้าผิดผลิดไปแล้วเราไม่สามารถแก้ไขได้อีกด้วย

ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มก่อสร้างบ้านเราต้องออกแบบให้ดี ว่าต้องการบ้านกี่ชั้น จะมีการต่อเติมอะไรอีกในอนาคตไหม มีแผนขยายอะไรหรือไหม เพราะหากเราไม่ได้ออกแบบโครงสร้างมาให้รองรับตั้งแต่แรก ย่อมจะส่งผมเสียในระยะยาวแน่นอน


อย่างที่กล่าวไปว่างานฐานรากนั้นสำคัญมาก ผมแนะนำว่าทุกท่านที่สร้างบ้านด้วยตัวเองไม่ว่าจะผ่านบริษัท หรือ ผู้รับเหมาเองก็ตามที่ควรจะมี "วิศวกรคนนอก" ที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้รับเหมามาช่วยตรวจงานก่อสร้างให้ตรงตามแบบนะครับ โดยผมเองโชคดีได้รู้จักพี่วิศกรอยู่คนนึงเลย เลยฝากพี่คนนี้ช่วยดูแลบ้านหลังนี้ด้วย ซึ่งผมไม่ผิดพี่วิศวกรคนนี้ช่วยผมหลายเรื่องเลย ซึ่งจะมีถึงต่อไปในบทความอื่นๆ ด้วย

เข้าเรื่องกันดีกว่าหลังจากจัดการรื้อบ้านเดิมออกแล้ว ก็ได้เวลาปรับพื้นที่เพื่อเตรียมลงเสาเข็ม






เพื่อให้งานเดินหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว ผู้รับเหมาจัดการใช้รถแม๊คโครเคลียพื้นที่เลยครับ ใช้เวลาเพียง 3 วันก็โล่งอย่างที่เห็น พร้อมตอกเสาไม้เอาไว้เป็นแนวบ้านเพื่อทิ้งดิ่ง และมาร์คจุดตอกเสาเข็ม

โดยผู้รับเหมาของผมไม่ได้เป็นคนตอกเสาเข็มเอง แต่ใช้วิธี "เหมาช่วง" หรือก็คือการจ้างช่างอีกทีมนึงที่รับทำเรื่องการตอกเสาเข็มเข้ามาทำแทน โดยวิธีการแบบนี้ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะช่วงก่อสร้างนั้นมีหลายหน้าที่และมีความชำนาญไม่เหมือนกัน อีกทั้งเครื่องไม้เครื่องมือแต่ละอย่างนั้นต้องใช้ความชำนาญค่อนข้างสูงเลยทีเดียว


ระหว่างรอทีมขุดเจาะเสา ผู้รับเหมาก็เตรียมผูกเหล็กเพื่อหล่อเสาเข็มกันไป ที่เห็นวางอยู่ที่พื้นนั้นแหละครับคือ อนาคตเสาเข็มบ้านเลขที่ 45

ผ่านไป 2 วัน ทีมเจาะเสาเข็มก็เข้ามาหน้างาน พอมาถึงก็ต้องเพิงพักกันก่อนเพราะวันนึงจะเจาะเสาเข็มได้เพียง 2 - 3 ต้นเท่านั้น โดยบ้านผมต้องใช้เสาเข็มทั้งหมด 18 ต้น ต้องใช้เวลา 2 - 3 อาทิตย์เลยทีเดียว

ที่เห็นเต็นฟ้าๆ ขวามือนั้นแหละครับ ที่พักของทีมช่างเจาะเข็ม



ทีนี้ก่อนจะเริ่มเจาะกันเรามาดูความแตกต่างของ "เสาเข็มเจาะ" กับ "เสาเข็มตอก" กันก่อนดีกว่าว่าต่างกันอย่างไร

ทุกคนน่าจะคุ้นเคยกับ "เสาเข็มตอก" มากกว่า​ "เสาเข็มเจาะ" เจ้าเสาเข็มตอกนั้นจะมาพร้อมปั่นจั่นอันใหญ่ๆ ตอกทีดัง ตูม ตู๊ม แถมพื้นก็สั่นอีก หลักการทำงานคือตอกเสาลงไปบนดินตรงๆ โดยตัวเสานั้นสามารถเลือกวัสดุได้ เช่น ไม้ เหล็ก คอนกรีต และคอนกรีตเสริมแรง


ข้อเสียของเสาเข็มตอก คือ
- ต้องใช้กับพื้นที่โล่งเพราะขนาดเสาเข็มนอกนั้นค่อนข้างใหญ่
- เสียงดังมาก
- ถ้าในบริเวณข้างเคียงมีอาคารสิ่งปลูกสร้างอยู่ใกล้ๆ อาจทำให้เกิดการเสียหายแตกแล้วได้
- ตามกฎหมายไม่สามารถใช้เสาเข็มตอกได้ ถ้าภายในระยะ 30 เมตร มีสิ่งปลูกสร้าง หรือ อาคารอื่นอยู่

ข้อดี คือ ถูกกว่าเสาเข็มเจาะ ราคาเสาเข็มตอกต่อต้นประมาณ 3,500 บาท

โดยบ้านผมนั้นเนื่องจากรอบๆ อาณาเขตนั้นติดกับผู้อื่น และถือว่าอยู่ในเขตชุมชน ทางเขตจึงต้องให้ใช้เป็น "เข็มเจาะ" เท่านั้นใช้ "เข็มตอก" ไม่ได้

ที่นี้มาดูกันว่าไอ้เจ้าเข็มตอกนี้มันน่าตาเป็นยังไง
ยอมรับว่าในตอนแรกจินตนาการว่าไอ้เสาเข็มเจาะเนี่ยมันต้องเป็น หัวสว่านหมุนเจาะดินลงไปแน่เลย แต่พอมาเห็นของจริง เฮ้ย ไอ้เสา 3 ขา กับปลอกเหล็กและลูกตุ้ม นี่มันคืออะไร ?
ไม่เห็นมีหัวสว่านเลยแล้วมันจะเจาะลงไปได้ไง ?

หลังจากยื่นงงสักพักก็เลยถามพี่ผรม. ว่าไอ้เข็มเจาะนี้มันทำงานยังไง พี่ผรม. ก็บอกว่ามันก็ทำงานเหมือนเข็มตอกแหละครับ แต่ไม่ได้ใช้วิธีกดหน้าดินลงไปข้างล่าง ส่วนเข็มเจาะนี่จะใช้วิธีเจาะแล้วขุดเอาดินขึ้นมาแทน หลังจากนั้นก็จะเทคอนกรีตลงไปในหลุม เรียกว่าคอนรีตหล่อในที่ มิน่าถึงเรียกว่า "เข็มเจาะ"



ในส่วนของเสาเข็มเจาะเองก็จะแบ่งออกเป็น ระบบเปียก กับ ระบบแห้งอีก แต่โดยการก่อสร้างบ้านทั่วไปจะใช้ระบบแห้งครับ ส่วนระบบเปียกมักจะใช้กับหน้างานที่เป็นดินแบบพิเศษเช่นมีโพรงน้ำใต้ดิน เป็นต้น โดยระบบเปียกสามารถเจาะได้ลึกถึง 40 - 70 เมตรเลบทีเดียว

ส่วนบ้านเลขที่ 45 นั้นใช้ระบบแห้ง ตามแบบที่ขออนุญาตเจาะไว้คือ 28 - 30 เมตร

ในด้านค่าใช้จ่ายนั้นเสาเข็มเจาะแบบแห้งจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าเสาเข็มตอก 3-4 เท่าเลยทีเดียว แต่มันเป็นเรื่องทีทำอะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้นอย่าไปสนใจครับ เครียดป่าวๆ


ที่นี้เรามาดูกันว่า ส่วนประกอบของเสาเข็มเจาะระบบแห้ง มีอุปกรณ์อะไรบ้าง
– ขาหยั่ง 3 ขา (Tripod)
– ปลอกเหล็กชั่วคราว (Temporary Casing)
   ปลอกเหล็กทรงกระบอกกลวงเอาไว้นำทางกระเช้าตักดิน และทำแบบเทคอนกรีตหล่อในที่ โดยความยาวแต่ละปลอกจะอยู่ที่ 1.2 - 1.5 เมตร
– กระเช้าตักดิน (Bucket)
   เอาไว้สำหรับตักดินออกจากหลุม
– ลูกตุ้ม (Cylindrical Hammer)
   เอาไว้กระแทกเปิดทางให้ปลอกเหล็กกดหน้าดินลงไปได้ โดยเจ้าลูกตุ้มนี้ อันเล็กๆ แต่หนักถึง 1 ตัน (1,000 กิโลกรัมเลยทีเดียว)
– เครื่องกว้านลม (Air Winch)
   พระเอกของงานบเลยเอาไว้ยกลูกตุ้ม และกระเช้าขึ้นลง



นี่ครับหน้าตาของรูปตุ้ม(ซ้ายมือ) และกระเช้าตักดิน (ขอบคุณภาพประกอบจาก selectcon.com)



หลักการทำงานของเสาเข็มเจาะก็ไม่มีอะไรมากครับ
1. นำฐานที่เป็นขาตั้ง 3 ขาไปอยู่เหนือจุดที่กำหนด
2. ทิ้งลูกตุ่มเพื่อเปิดทางลงไปให้เป็นโพรงขนาดประมาณนึง
3. นำปลอกเหล็กมาตอกลงไปให้สุดความยาวแต่ยังเหลือปลายอยู่เหนือพื้นดิน
4. ใช้กระเช้าตักดินตักดินข้างในปลอกออกมาให้หมด
5. นำปลอกเหล็กมาต่อเพิ่มแล้วตอกลงไปจนมิดเหมือนเดิม
6. ทำซ้ำ ข้อ 4 - 5 จนกว่าจะได้ความลึกที่ต้องการ

ทีนี้จะรู้ได้ไงว่าจะได้ความลึกตามเท่าไหร่แล้ว ง่ายเลยๆ ครับนับจำนวนปลอกเหล็กที่ตอกลงไป หรืออีกวิธีคือดูชั้นดินว่าถึงชั้นทรายหรือยังถ้าถึงแล้วเป็นอันใช่ได้ครับ

หลังจากขุดได้ความลึกตามต้องการแล้วก็เทคอนกรีตครับ ระหว่างเทก็ค่อยถอนปลอกเหล็กออกมาด้วย

ระหว่างทีมเจาะทำงานไป ผรม. ผมก็เตรียมแบบเหล็กเอาไว้สำหรับทำฐานรากข้างบนครับเอารับเสาและคานต่อไป แบบที่ใช้ก็เป็นแบบเหล็กหน้าตาแบบไหนรูปครับ ขนาด 1 ลบ.เมตร




วางแบบเหล็กคร่อมหัวเสาแล้ววางเหล็กแบบลงไปครับ หลังจากนั้นก็เทคอนกรีตอีกที พอคอนกรีตแห้งก็ปรับหน้าดินให้ได้ระนาบครับ หลังจากนั้นก็วางเหล็กเตรียมทำคานกันต่อเลยเพื่อไม่ให้เสียเวลา




เข้าแบบคานเสร็จแล้วก่อนจะเทคอนกรีตก็ทำพิธีลงเสาเอกกันสักหน่อยครับเพื่อความเป็นศิริมงคล ขอให้บ้านนี้สงบสุข ร่มเย็นทีเถิด สาธุๆ

เทคอนกรีตคานเสร็จสิ้น ขึ้นแบบเสาต่อเลยครับ


ผ่างหลังจากรอ เกือบ 1 สัปดาห์ก็ถอดแบบ ออกมาได้นะครับ ทิ้งไว้ให้คอนกรีตเซ็ตตัวเต็มที อันนี้ผมไม่รีบ ผรม. ก็ไม่รีบ ยาวไปครับ แต่ระหว่างทิ้งให้คอนกรีตเซ็ตตัวช่างก็คอยรดน้ำไปด้วยนะครับ เช้า กลางวัน เย็น เขาเรียกว่าการบ่มคอนกรีต เนื่องจากคอนกรีตตอนแข็งตัวจะคายน้ำออกมาเร็วมาก ทำให้ความแข็งแรงของคอนกรีตไม่ดีเท่าที่ควร โดยปกติจะบ่มกัน 7 - 21 เลยทีเดียว สำหรับบ้านเลขที่ 45 นั้นก่อสร้างในหน้าฝน บางวันที่ฝนตกนี้ไม่ต้องพรมน้ำกันเลย 55+

ส่วนที่เป็นเสา ผรม. เขาจะเอาพลาสติกมาคุมไว้ด้วย เป็นเทคนิคการบ่มคอนกรีตแบบหนึ่ง ซึ่งสมัยก่อนจะใช้เป็นผ้ากระสอบมาพันรอบเสาแล้วพรมน้ำ แต่แบบห่มพลาสติกนั้นจะดีกว่า เพราะส่วนใหญ่ช่างจะชอบลืมพรมน้ำ 55+


หลังจากที่คานแข็งตัวจนเป้นที่หน้าพอใจแล้ว ก็ได้เวลาทำพื้นบ้านสักที บ้านผมใช้แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปมาวางเลยครับ ก็ง่ายดีครับ เดียวนี้พวกวัสดุสำเร็จรูปออกมาให้เลือกใช้เยอะเลย ส่วนที่เห็นเป็นช่องโหว่นั้น คือ ตำแหน่งของห้องน้ำครับ ห้องน้ำนั้นเราต้องใช้การหล่อคอนกรีตในที่นะครับ เพื่อป้องกันการรั่วซึม โดยห้องน้ำผมบอกช่างไว้ว่าให้ทำเป็น พื้นระดับเดียวกับตัวบ้าน เพราะไปเห็นแบบบ้านเพื่อผู้สูงอายุของ SCG ที่ SCG Experience และที่ SCG Heim


คุณแม่ออกมาเดินดูบ้าน และตรงที่เห็นนั้น คือ ห้องครัวในอนาคต

ปู wire mesh เพื่อเทคอนกรีตคลุม


ผ่างงงงง ช่วงที่เขาเทคอนกรีต ลืมถ่ายนะครับ โผล่มาก็เทเสร็จแล้ว 55+
และนี้ คือ หน้าตาของพื้นบ้านชั่น 1 หลังจากที่คอนกรีตแล้วนะครับ งานออกมาค่อยข้างดีเลยทีเดียว ในส่วนที่หล่อเป็นพื้นห้องน้ำจะยังไม่เทเท่าพื้นบ้านเลยในทีเดียวนะครับ เพราะต้องมีการวางท่อระบายน้ำอีก (ในส่วนของห้องน้ำเสมอพื้นภายนอกจะมีเขียนในบทความหลังๆ อีกทีครับ)

หลังจากผ่านมา 2 เดือนหลังจากเริ่มก่อสร้างบ้านหลังนี้ก็เริ่มเห็นเป็นรูปเป็นล่างแล้วนะครับ ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่าจะออกมาแบบที่ผมจินตนาการไว้หรือไม่ ^0^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น